ผิวไหม้แดด เป็นปัญหาผิวที่หลายคนมักเจอโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะในวันที่ต้องออกไปเผชิญกับแสงแดดแรง ๆ เป็นเวลานาน โดยไม่มีการปกป้องผิวอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นผิวหน้า แขน หรือหลัง เมื่อโดนแดดจัดเกินไป หลายคนอาจสงสัยว่าอาการเหล่านี้ถือว่ารุนแรงไหม ต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหาย แล้วถ้าอยากฟื้นฟูผิวที่ไหม้แดดให้กลับมาเนียนใสเหมือนเดิม จะมีวิธีไหนที่ช่วยได้บ้าง ในบทความนี้ Vincent Clinic Skin จะพาไปรู้จักกับอาการของผิวไหม้แดด ระยะเวลาที่ใช้ในการฟื้นฟู ไปจนถึงวิธีดูแลและบรรเทาอาการอย่างถูกต้องและปลอดภัย
ผิวไหม้แดดคืออะไร
ผิวไหม้แดด (Sunburn) คือ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานาน โดยเฉพาะแสงแดดที่มีรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) สูงมากๆ ซึ่งรังสีอัลตราไวโอเลตจะเข้าไปทำลายเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดการระคายเคือง อักเสบ หรือไหม้ในระดับผิว ยิ่งถ้าผิวไม่มีเกราะป้องกันแดดไม่มีการทาครีมกันแดดจะยิ่งไหม้แดดได้ง่ายมากขึ้น
ผิวหน้าไหม้ ผิวไหม้แดดเกิดจากอะไร
การที่เกิดผิวไหม้ ผิวคล้ำลงจากแดดเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางคนอาจจะโดนแดดแค่เพียงไม่นาน แต่ก็รู้สึกแสบร้อนผิว สีผิวเปลี่ยนไป หรือบางคนอาจจะเพิ่งรู้สึกแสบผิว ผิวดำแดดขึ้นหลังจากที่โดดแดดนานๆ ได้ โดยสาเหตุที่ทำให้ผิวไหม้แดดเกิดจากสาเหตุดังนี้
- ผิวแพ้ง่ายหรือไวต่อแสง บางคนมีผิวที่ตอบสนองไวต่อแสงแดด เช่น ผู้ที่มีผิวบาง หรือมีโรคผิวหนังบางประเภท จะเกิดผิวไหม้แดดได้ง่ายกว่าผิวแบบอื่นๆ แม้จะเจอแดดในระยะเวลาสั้นๆ
- กระบวนการทำงานของเม็ดสีเมลานิน เมื่อผิวได้รับรังสี UV เม็ดสีเมลานินจะถูกสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับแสงแดด ทำให้ผิวดูเข้มขึ้น แต่หากโดนแดดบ่อย ๆ หรือรุนแรงเกินไป เซลล์สร้างเมลานินจะทำงานหนัก ส่งผลให้ผิวหมองคล้ำ หรือกลายเป็นรอยไหม้ได้
- การตากแดดเป็นเวลานานเกินไป โดนแดดอยู่บ่อยๆ อย่างเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงเวลาแดดแรงที่สุดคือตอน 10.00 – 16.00 น. ซึ่งรังสี UV มีความเข้มข้นสูง อาจทำลายเซลล์ผิวได้อย่างรวดเร็ว แม้จะโดนแดดเพียงไม่กี่นาที
- ไม่ใช้ครีมกันแดด ไม่ป้องกันผิว ครีมกันแดดช่วยป้องกันรังสี UV ไม่ให้ทำลายผิวโดยตรง แต่หากทาในปริมาณน้อย ทาไม่ทั่ว หรือไม่ได้ทาซ้ำระหว่างวัน ประสิทธิภาพก็จะลดลงมาก รวมถึงการแต่งกายที่เปิดเผยผิว เช่น เสื้อแขนสั้น กางเกงขาสั้น หรือไม่สวมหมวกและแว่นกันแดด ทำให้รังสี UV เข้าถึงผิวโดยตรง ส่งผลให้ผิวไหม้ได้ง่ายขึ้น
- ยาบางชนิด ยาบางตัวสามารถทำให้ผิวไว้ต่อแดดได้ เช่น ยาต้านอักเสบบางชนิด ยาปฏิชีวนะ กลุ่มควิโนโลนหรือเตตร้าซัยคลิน รวมถึงยาคุมกำเนิดบางชนิด ล้วนส่งผลให้ผิวไวต่อรังสี UV มากขึ้น ผิวดำแดดได้ง่าย
- สภาพแวดล้อม ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร หรือในพื้นที่สูง เช่น บนเขา หรือบริเวณที่มีหิมะ เป็นสถานที่ที่สามารถสะท้อนรังสี UV ได้มาก จะมีโอกาสผิวไหม้แดดสูงกว่าพื้นที่อื่น
อาการผิวไหม้ หน้าไหม้แดดเป็นแบบไหน
อาการผิวไหม้แดดสามารถเกิดขึ้นได้หลายระดับ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผิวสัมผัสกับแสงแดด ความเข้มของรังสี UV และความไวของผิวแต่ละคน โดยทั่วไปสามารถแบ่งความรุนแรงของอาการออกเป็น 3 ระดับหลัก ดังนี้
ระดับที่ 1 ผิวไหม้แดดเล็กน้อย
เป็นระดับเริ่มต้นที่พบได้บ่อย ผิวจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงเล็กน้อย อาจรู้สึกแสบหรือร้อน และมีอาการเจ็บเมื่อสัมผัส ผิวจะเริ่มลอกในช่วง 2-3 วันหลังโดนแดด และอาการมักจะหายได้โดยไม่ต้องรักษาอย่างจริงจัง
ระดับที่ 2 ผิวไหม้แดดปานกลาง
ในระดับนี้ ผิวจะมีอาการแดงจัด บวม คัน หรือแสบร้อนมากขึ้น และมักเจ็บมากจนสัมผัสลำบาก อาการจะรุนแรงกว่าในระดับแรก และต้องใช้เวลาฟื้นตัว ควรหลีกเลี่ยงการโดนแดดซ้ำ และบำรุงผิวอย่างเหมาะสม
ระดับที่ 3 ผิวไหม้แดดแบบรุนแรง
ผิวหนังจะปวดแสบปวดร้อนมากกว่าปกติ มีตุ่มน้ำพองหรือแผลพุพองร่วมด้วย ในบางรายอาจมีอาการเพิ่มเติม เช่น คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หรือมีไข้สูง หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ เพราะเป็นสัญญาณของการไหม้แดดในระดับลึก และอาจต้องใช้เวลาฟื้นตัวนาน
นอกจากระดับของผิวไหม้แดดแล้วยังมีอาการผิวไหม้แดดหลายๆ แบบ ดังนี้
- ผิวแดงหรือชมพูมากขึ้น สีผิวเปลี่ยนเป็นแดงหรือชมพูในบริเวณที่สัมผัสแสงแดด เป็นสัญญาณเริ่มต้นของการอักเสบที่เกิดจากรังสี UV
- รู้สึกแสบหรือเจ็บเมื่อสัมผัส ผิวจะไวต่อการสัมผัสมากกว่าปกติ รู้สึกแสบร้อนหรือเจ็บเมื่อแตะโดนแม้จะไม่ได้อยู่กลางแดดแล้วในบางรายผิวอาจบวมเล็กน้อยถึงปานกลาง
- มีตุ่มน้ำใสหรือตุ่มพอง หากอาการรุนแรง อาจเกิดตุ่มน้ำหรือแผลพุพอง ซึ่งเป็นผลจากการไหม้ของผิวชั้นลึก รวมถึงมีอาการคันผิวได้
- ผิวลอกหรือหลุดเป็นขุย หลังเกิดการไหม้แดด ผิวชั้นนอกที่เสียหายจะเริ่มลอกออก บริเวณที่โดนแดดเผาจะสูญเสียความชุ่มชื้น ทำให้รู้สึกตึงและแห้ง
- ปวดศีรษะหรือมีไข้ หากร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป อาจมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ รู้สึกเหนื่อยล้า หรือเวียนศีรษะ เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการไหม้แดดรุนแรงและร่างกายสูญเสียน้ำหรือพลังงาน ซึ่งถ้ามีอาการรุนแรงจนรู้สึกว่าทนไม่ไหว แสบร้อนผิวเป็นอย่างมาก ผิวมีสีซีดมาก หรือรู้สึกสับสน ผิวติดเชื้อแนะนำให้รีบพบแพทน์ทันทีเพื่อทำการแก้ไข
หน้าไหม้แดด ผิวหน้าไหม้กี่วันหาย หายเองได้ไหม
ผิวไหม้แดดสามารถหายได้เอง หากอาการไม่รุนแรงมาก และได้รับการดูแลที่เหมาะสม ไหม้แดดเล็กน้อย จะเริ่มดีขึ้นภายใน 3–5 วัน หลังจากนั้นผิวจะเริ่มลอกออกเล็กน้อยซึ่งเป็นกระบวนการผลัดเซลล์ผิวตามธรรมชาติ
ถ้ามีอาการผิวไหม้แดดรุนแรง เช่น ผิวบวม เจ็บมาก หรือมีตุ่มน้ำ อาจใช้เวลาฟื้นตัวประมาณ 1–2 สัปดาห์ และควรให้ความระมัดระวังในการดูแลอย่างใกล้ชิด หากมีอาการแทรกซ้อน เช่น ไข้สูง คลื่นไส้ หนาวสั่น หรือรู้สึกเวียนศีรษะ ควรพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของการไหม้แดดในระดับลึก หรือมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
แม้ว่าอาการผิวไหม้แดดจะหายเองได้หากเกิดซ้ำบ่อยครั้งโดยไม่ได้รับการป้องกัน อาจส่งผลเสียต่อผิวในระยะยาว เช่น ผิวแห้งเสีย มีริ้วรอย จุดด่างดำ สีผิวไม่สม่ำเสมอ และเพิ่มความเสี่ยงของโรคผิวหนังเรื้อรัง รวมถึงมะเร็งผิวหนัง
ดังนั้น นอกจากการดูแลรักษาเมื่อผิวไหม้แล้ว การป้องกันด้วยการหลีกเลี่ยงแดดจ้า ทาครีมกันแดดเป็นประจำ และสวมเสื้อผ้าที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดก็เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
วิธีฟื้นฟูผิวไหม้แดด หน้าไหม้แดดเร่งด่วน
เมื่อผิวหน้า หรือผิวตัวถูกทำร้ายจากแสงแดดอย่างรุนแรง จนเกิดอาการแสบร้อน แดง หมองคล้ำ สามารถฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนได้ โดยการรักษาผิวอย่างเร่งด่วนจะช่วยทำให้สีผิวกลับมาเป็นปกติ ลดความแดง เพิ่มแข็งแรงให้ผิว ช่วยซ่อมแซมให้ผิวกลับมาดูสุขภาพดี โดยมีหลายวิธี ดังนี้
- ฉีดเมโสหน้าใส ส่วนผสมหลักของเมโสหน้าใสเป็นสารบำรุงต่าง ๆ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถเข้าสู่ผิวโดยตรงในระดับชั้นกลางของผิวหนัง เพื่อฟื้นฟูผิวที่อ่อนแอจากแสงแดด ช่วยลดอาการอักเสบ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และเร่งการซ่อมแซมผิวที่ถูกทำร้าย ทำให้ผิวกลับมานุ่ม ชุ่มชื้น และแข็งแรงมากขึ้น เหมาะกับคนที่มีอาการหน้าไหม้แดด หรือหน้าหมองคล้ำอย่างเห็นได้ชัด
- ฉีดวิตามินผิว เป็นการเติมวิตามินเข้าสู่ผิวโดยการฉีดหรือดริปเข้าสู่ร่างกาย เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการฟื้นฟูผิวอย่างเร่งด่วน มีหลากหลายสูตรให้เลือกใช้ ทั้งช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ เสริมภูมิคุ้มกัน และเร่งการผลัดเซลล์ผิว ช่วยลดจุดด่างดำ ความหมองคล้ำ เพิ่มความกระจ่างใสให้ผิวทั่วใบหน้า เหมาะกับการแก้ไขผิวตัวที่ไหม้แดด
- การฉีดฟิลเลอร์แบบ Skin Booster การเติมความชุ่มชื้นให้ผิวด้วยฟิลเลอร์ที่มีความละเอียดสูง เนื้อนิ่ม เป็นอีกหนึ่งวิธีกู้ผิวไหม้แดดจะช่วยกักเก็บน้ำไว้ในชั้นเพิ่มความแข็งแรงให้ผิวชั้นนอก การฉีดแบบนี้จะช่วยให้ผิวดูฟู อิ่มน้ำ เนียนใส และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
รักษาหน้าไหม้แดด ผิวไหม้แดดด้วยตัวเอง
เมื่อผิวถูกแดดทำร้ายจนเกิดอาการไหม้ ไม่ว่าจะเป็นผิวแดง แสบ ร้อน หรือลอก การดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีสามารถช่วยบรรเทาอาการและเร่งให้ผิวฟื้นตัวได้เร็วขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งการรักษาทางการแพทย์เสมอไป ซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธีเหล่านี้
- ลดความร้อนของผิว ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเย็นประคบบริเวณที่ไหม้แดดครั้งละประมาณ 10–15 นาที วันละหลายครั้ง ช่วยลดอาการแสบร้อนและอักเสบ หลีกเลี่ยงการใช้น้ำแข็งโดยตรง เพราะอาจทำให้ผิวที่อ่อนแอเสียหายมากขึ้น หรือประคบผิวด้วยน้ำชาคาโมมายล์ ช่วยลดอาการอักเสบและผ่อนคลายผิว อาบน้ำผสมเบกกิ้งโซดาเพื่อช่วยลดความแสบร้อนของผิว
- เติมความชุ่มชื้นให้ผิว หลังอาบน้ำหรือทำความสะอาดผิว ควรทาครีมหรือเจลที่ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น เช่น เจลว่านหางจระเข้ โลชั่นที่มีส่วนผสมของวิตามินอี หรือครีมสำหรับผิวแพ้ง่าย หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์ น้ำหอม หรือสารที่ก่อการระคายเคือง
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ ร่างกายต้องการน้ำในการซ่อมแซมผิวที่ถูกทำร้าย การดื่มน้ำวันละ 8 แก้วขึ้นไปจะช่วยให้ผิวไม่แห้งเกินไป และส่งเสริมการฟื้นตัวของผิวจากภายใน ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับร่างกาย
- ห้ามแกะ เกาผิว หากมีตุ่มน้ำหรือแผลพุพอง ควรปล่อยให้หายเองตามธรรมชาติ ไม่ควรแคะหรือแกะ เพราะอาจทำให้ผิวติดเชื้อหรือเกิดแผลเป็น ควรล้างแผลเบา ๆ ด้วยน้ำเกลือหรือสบู่อ่อน แล้วทาขี้ผึ้งฆ่าเชื้อหากจำเป็น
- หลีกเลี่ยงแสงแดด ในช่วงที่ผิวยังบอบบาง ควรหลีกเลี่ยงการโดนแดดโดยตรง หากต้องออกนอกบ้าน ควรสวมเสื้อผ้าปกปิด สวมหมวก ใช้ร่ม และทาครีมกันแดดที่อ่อนโยนต่อผิวอย่างสม่ำเสมอ แม้ในวันที่ไม่มีแดดจัด
วิธีป้องกันไม่ให้ผิวไหม้แดด
แสงแดดจัด โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางวัน ถือเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ผิวหนังถูกทำร้ายได้โดยตรง ซึ่งรังสียูวี (UV) ที่มากับแสงแดดสามารถทำลายเซลล์ผิว ลึกถึงระดับชั้นผิวหนังแท้ ทำให้เกิดปัญหาผิวไหม้ ริ้วรอยก่อนวัย ผิวหมองคล้ำ และในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งผิวหนังได้ เพื่อปกป้องผิวจากผลกระทบเหล่านี้ ควรปฏิบัติตามวิธีป้องกันผิวไหม้ดังนี้
- ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ เลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF อย่างน้อย 30 และ PA+++ หรือมากกว่า เพื่อป้องกันทั้งรังสี UVA และ UVB ทาให้ทั่วบริเวณที่สัมผัสแสงแดด และควรทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะเมื่อเหงื่อออกหรือเล่นน้ำ รวมถึงทากันแดดที่ริมฝีปากด้วย เพราะเป็นจุดที่บอบบางและมักถูกละเลย ควรใช้ลิปบาล์มหรือขี้ผึ้งกันแดดที่มีค่า SPF เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวบริเวณนี้ไหม้หรือคล้ำเสีย
- หลีกเลี่ยงแดดช่วงเวลาที่รังสียูวีแรงที่สุด ช่วงเวลา 10.00 – 16.00 น. เป็นช่วงที่แดดแรงและรังสียูวีเข้มข้น หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรหาที่ร่มบังแดด หยุดพักเป็นระยะ หรือหาวิธีลดการสัมผัสแดดโดยตรง
- แต่งกายป้องกันการโดนแดด สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หมวกปีกกว้าง และเลือกเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีแต่สามารถปกป้องผิวจากแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผิวไวต่อแสง ยาบางชนิดหรือเครื่องสำอางบางประเภทสามารถทำให้ผิวไวต่อรังสียูวีมากขึ้น เช่น ยาปฏิชีวนะบางกลุ่ม ยารักษาสิว หรือกรดผลัดผิว หากใช้อยู่ควรปรึกษาแพทย์ และเพิ่มการป้องกันแสงแดดเป็นพิเศษ
สรุป
ผิวไหม้แดดมีหลายระดับตั้งแต่อาการผิวไหม้เล็กน้อยจนไปถึงไหม้รุนแรง รู้สึกแสบร้อนผิว เกิดตุ่มน้ำพองเล็กๆ ได้ ดังนั้นควรที่จะทากันแดดอย่างเป็นประจำในทุกๆ วันทั้งผิวหน้า และผิวตัว เพื่อป้องกันผิวไหม้แดด หากต้องการดูลผิวให้กลับมากระจ่างใส เพิ่มความแข็งแรงผิว สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ Vincent Clinic Skin ค่ะ