บทความ
สิวฮอร์โมนทำอย่างไรให้หาย หายเองได้ไหม ต้องใช้อะไรรักษาสิวฮอร์โมน
แชร์ :

สิวฮอร์โมนทำอย่างไรให้หาย หายเองได้ไหม ต้องใช้อะไรรักษาสิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมน
อยากอ่านอะไร จิ้มที่หัวข้อได้เลย!

สิวฮอร์โมนเป็นหนึ่งในปัญหาผิวที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงที่ฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง หลายคนที่กำลังเป็นสิวฮอร์โมนอยู่คงอยากจะรู้สาเหตุ และวิธีแก้ไขสิวฮอร์โมน ในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับสิวฮอร์โมน และวิธีการรักษาต่างๆ ที่จะช่วยบรรเทาอาการ และฟื้นฟูผิวให้กลับมาสุขภาพดี หน้ากลับมาเรียบเนียน

สิวฮอร์โมนคืออะไร

สิวฮอร์โมน คือ สิวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง โดยมักขึ้นในช่วงวัยรุ่นที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต หรือในช่วงที่ฮอร์โมนเพศชายหรือเทสโทสเตอโรนเพิ่มสูงขึ้นในร่างกาย ส่งผลให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น ทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนและเกิดสิวขึ้นได้ง่ายขึ้น ถึงแม้แม้ว่าสิวฮอร์โมนมักเกิดในวัยรุ่น แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในผู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

สิวฮอร์โมนเกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมนขึ้นมาเกิดจากสาเหตุหลักคือฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ฮอร์โมนไม่คงที่จนเป็นสิวฮอร์โมนมีดังนี้

  • ประจำเดือน ในช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งฮอร์โมนเพศหญิง และฮอร์โมนเพศชายมีมากขึ้นในร่างกาย ทำให้น้ำมันในผิวหน้ามากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดสิวอุดตันและสิวอักเสบตามมาได้
  • ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS) ภาวะนี้จะเพิ่มฮอร์โมนแอนโดรเจนในร่างกาย ซึ่งทำให้ต่อมไขมันทำงานผิดปกติ น้ำมันในผิวเยอะขึ้น จนเกิดการอุดตันของรูขุมขน 
  • ภาวะ Hyperandrogenism ภาวะนี้หมายถึงการที่ร่างกายมีฮอร์โมนแอนโดรเจนสูงผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจาก โรคที่เกี่ยวข้องกับการผลิตฮอร์โมนเกิน ความผิดปกติของต่อมหมวกไต 
  • ความเครียด ความเครียดเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สามารถกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายให้มากขึ้น มีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่ทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ การนอนหลับไม่เพียงพอส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด เช่น คอร์ติซอล ซึ่งทำให้สิวเกิดขึ้นได้ง่าย 

สิวฮอร์โมนเป็นแบบไหน

สิวฮอร์โมนเป็นแบบไหน ดูอย่างไร

สิวฮอร์โมนเป็นสิวที่มักเกิดขึ้นเมื่อระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปมักจะเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างช่วงมีประจำเดือน และในช่วงที่ร่างกายเจอความเครียด มักจะเกิดในบริเวณเดิมซ้ำ ๆ แม้จะยุบไปแล้วจะกลับขึ้นมาใหม่ไม่หายไปอย่างถาวร และมีสิวหลายๆ เม็ดขึ้นมาในบริเวณใกล้ๆ กัน โดยลักษณะสิวฮอร์โมนสามารถพบได้หลายแบบดังนี้

สิวฮอร์โมนแบบไม่อักเสบ

  • สิวอุดตันหัวขาว มีลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ โดยมีหัวสิวที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนัง ไม่มีการอักเสบหรือหนอง ภายนอกมักจะสังเกตเห็นยาก คล้ายกับสิวผด หากปล่อยทิ้งไว้กลายเป็นสิวอักเสบได้
  • สิวอุดตันหัวดำ มีหัวสิวอยู่บนผิวเป็นจุดดำๆ สังเกตได้ง่าย สาเหตุเกิดจากการที่เคราตินและน้ำมันบนผิวทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ทำให้สิวเปลี่ยนสีจากขาวเป็นดำ

สิวฮอร์โมนแบบอักเสบ

  • สิวหัวหนอง สิวชนิดนี้มีลักษณะเป็นตุ่มแดงที่ตรงกลางมีหัวสิวเป็นหนองสีขาวหรือเหลือง เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ
  • สิวไต เป็นสิวไม่มีหัวเกิดการอักเสบที่ลึกใต้ผิวหนัง มีลักษณะเป็นก้อนแข็งและมักจะรู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส
  • สิวหัวช้าง สิวชนิดนี้เป็นสิวไม่มีหัวที่มีการอักเสบรุนแรง มักเป็นก้อนแข็งที่ไม่มีหนอง ภายใต้ผิวหนังและเจ็บปวดมาก จึงไม่สามารถบีบออกได้ง่าย

สิวฮอร์โมนขึ้นบริเวณไหนได้บ้าง

สิวฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณของร่างกาย แต่จะพบได้บ่อยที่สุดที่บริเวณใบหน้า โดยสิวฮอร์โมนมักจะขึ้นในบริเวณเดิมและในช่วงเวลาเดิมซ้ำ ๆ ถึงแม้ว่าจะดูแลผิวอย่างดีแล้วก็ตาม บางครั้งสิวยังคงกลับมาใหม่อยู่เสมอ บริเวณที่พบสิวฮอร์โมนขึ้นซ้ำ ๆ บ่อยที่สุดได้แก่บริเวณคาง หากมีสิวขึ้นที่คางเยอะและขึ้นเป็นประจำ อาจเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรืออาจบ่งบอกถึงภาวะถุงน้ำในรังไข่ แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจและรักษา

สิวที่ปากก็เป็นอีกหนึ่งบริเวณที่พบได้บ่อย โดยอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย และสามารถเกี่ยวข้องกับภาวะถุงน้ำในรังไข่เช่นเดียวกับสิวที่คาง 

อีกบริเวณที่มักพบสิวฮอร์โมนคือกรอบหน้า ซึ่งมักจะขึ้นเรียงกันทั่วกรอบหน้า หากมีสิวที่กรอบหน้าเยอะ ๆ และขึ้นซ้ำในจุดนี้บ่อย ๆ แม้จะหายไปแล้วแต่มักกลับขึ้นมาใหม่ก็เป็นสัญญาณของความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย และอาจเกิดสิวฮอร์โมนที่หลังได้ด้วย

สิวฮอร์โมน สิวประเดือนหายเองได้ไหม กี่วันหาย

สิวฮอร์โมนสามารถหายเองได้โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของสิว ความรุนแรงของสิวที่ขึ้นมา สิวฮอร์โมนบางแบบสามารถหายได้ภายใน 2 – 3 วัน แต่สิวฮอร์โมนที่รุนแรงอาจใช้เวลา 2 – 3 สัปดาห์ถึงจะยุบไปเอง และอาจทิ้งรอยสิวเอาไว้ได้ ดังนั้นถ้าเกิดเป็นสิวจึงไม่ควรปล่อยเอาไว้ ควรรีบรักษาสิวฮอร์โมนทันที

รักษาสิวฮอร์โมนด้วยหัตถการ

การรักษาสิวฮอร์โมนมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของสิวแต่ละประเภท โดยสามารถใช้หัตถการต่างๆ เพื่อช่วยลดการเกิดสิว และเร่งการหายของสิวฮอร์โมนได้ สิวฮอร์โมนสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องเลือกรักษาให้ถูก โดยวิธีรักษาสิวฮอร์โมนมีดังนี้

การกดสิว

การกดสิวเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการรักษาสิวฮอร์โมนที่เป็นประเภทสิวอุดตัน เช่น สิวหัวขาว หรือสิวหัวดำ โดยจะช่วยนำหัวสิวออกมา แนะนำให้ทำกับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นเพื่อป้องกันการอักเสบ

การฉีดสิว

การฉีดสิวเหมาะสำหรับสิวที่ไม่สามารถกดออกได้ เช่น สิวไต หรือสิวหัวช้าง ซึ่งเป็นสิวที่ไม่มีหัวหรือเป็นก้อนแข็งใต้ชั้นผิว การใช้สารในกลุ่มสเตียรอยด์ฉีดเข้าไปที่สิวจะช่วยให้สิวเริ่มนิ่มและยุบตัวลงได้

การทำเลเซอร์สิว

การทำเลเซอร์สิวใช้เครื่องเลเซอร์ที่เปิดหัวสิว และนำหัวสิวออกมาโดยไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น การอักเสบ หรือรอยแผลเป็น เหมาะสำหรับสิวที่ไม่มีหัวและไม่สามารถกดออกได้

การฉายแสงลดสิว

ฉายแสงลดสิวสามารถช่วยลดการอักเสบได้ โดยจะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว และลดการอักเสบ พร้อมทั้งลดการทำงานของต่อมไขมันทำให้หน้ามันน้อยลง

ยารักษาสิวฮอร์โมน

ยารักษาสิวฮอร์โมนมีทั้งชนิดทาและชนิดรับประทาน สำหรับยารักษาสิวแบบทามีหลายประเภท เช่น Retinol, Glycolic acid, Salicylic acid, Benzoyl peroxide ซึ่งจะช่วยลดการอุดตันและการอักเสบของสิว 

และสำหรับยารักษาสิวฮอร์โมนแบบรับประทานยาปฏิชีวนะแบบ หรือยาคุมกำเนิด ซึ่งเป็นยาที่ควบคุมฮอร์โมนให้คงที่ และยาคุมลดสิวฮอร์โมนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

วิธีรักษาสิวฮอร์โมน

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนแบบธรรมชาติ

การรักษาสิวฮอร์โมนด้วยวิธีธรรมชาติมีหลายตัวเลือกที่สามารถช่วยรักษาสิว ลดการอักเสบ แต่การรักษาด้วยวิธีธรรมชาติใช้เวลาค่อนข้างนาน ไม่รวดเร็วเท่ากับการใช้หัตถการ โดยวิธีธรรมชาติที่สามารถช่วยรักษาสิวฮอร์โมนมีดังนี้

มะนาว

มะนาวมีกรด AHA ที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวและขจัดสิวอุดตันออกจากผิวหน้าได้ โดยการใช้คอตตอนบัดชุบน้ำมะนาวสด แล้วแต้มลงบนสิวอุดตันจะช่วยให้สิวอุดตันลดลง แต่ควรระวังเพราะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณในการลดการอักเสบของผิว ช่วยที่รักษาสิวอักเสบได้โดยนำเจลจากว่านหางจระเข้มาทาบริเวณที่มีสิวอักเสบ สิวจะลดการอักเสบลง

น้ำผึ้ง

น้ำผึ้งมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและช่วยผลัดเซลล์ผิวได้อย่างอ่อนโยน โดยสามารถช่วยลดการอักเสบของสิว และเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ใช้น้ำผึ้งทาทั่วใบหน้าแทนมาสก์ก็ได้ 

สรุป

สิวฮอร์โมนเกิดจากสาเหตุหลักคือฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดสิวขึ้นมบนผิวในหลายๆ บริเวณ และมักเกิดขึ้นมาซ้ำๆ ซึ่งมีวิธีรักษาฮอร์โมนให้หายหลายวิธีขึ้นอยู่ประเภทสิวขึ้นมา หากไม่มั่นใจว่าควรรักษาสิวฮอร์โมนอย่างไร สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ Vincent Clinic Skin ได้ค่ะ

Scroll to Top